อุบัติเหตุจากการใช้รถบิ๊กไบค์

0 Comments
บิ๊กไบค์

พฤติกรรมการขับขี่ของวัยรุ่นที่มีผลต่อความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้รถบิ๊กไบค์ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าผู้ขับขี่ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร โดยใช้ความเร็วในการขับขี่และมีการขับขี่ด้วยความคึกคะนอง ส่งผลให้ผู้ขับขี่มีพฤติกรรมการขับขี่ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูง

ความหมายของอุบัติเหตุ 

อุบัติเหตุ หมายถึง ภัยอันตราย จากการขาดความสำนึกของความปลอดภัยเกิดขึ้นโดยไม่เจตนากระทำ แต่อาจกระทำโดยประมาท เลินเล่อ ขาคความรู้ ไม่มีสติควบคุม และง่วงนอน อย่างไรก็ตามอุบัติเหตุเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ปรารถนาให้เกิดขึ้นกับตนเอง ครอบครัว ญาติมิตร เพื่อนร่วมงานและบุคคลอื่นๆ 

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุจากการใช้รถบิ๊กไบค์

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุจากการใช้รถบิ๊กไบค์พบว่ามีปัจจัยสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ ปัจจัยที่เกี่ยวกับ คน ยานพาหนะ ถนนและสภาแวดล้อม และความบกพร่องทางกฎหมาย 

1. ปัจจัยที่เกิดจากคนอุบัติเหตุส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการกระทำ ผิดพลาคของผู้ใช้ทางโดยฉพาะผู้ขับขี่และคนเดินเท้า ปัจจัยที่เกิดจากผู้ขับขี่ ได้แก่

  • เพศ โดยทั่วไปเพศชายจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้มากกว่าเพศหญิง ทั้งนี้เพราะลักษณะนิสัยของเพศชาย เป็นเพศที่ชอบเสี่ยงภัย ชอบความตื่นเต้น ชอบขับรถเร็ว 
  • อายุ เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเกิดอุบัติเหตุ พบว่าเด็กช่วงวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาว อายุช่วงประมาณ 18-22 ปี เป็นกลุ่มที่มีอัตราเสี่ยงสูงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้รถบิ๊กไบค์ ทั้งนี้เนื่องจากเป็นวัยที่คึกคะบอง ขาคความระมัดระวัง และขาดประสบการณ์
  • การไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร เป็นปัจจัยสำคัญที่เกิดจากการขาคความรับผิดชอบความเห็นแก่ตัว ความไม่มีระเบียบวินัยในการปฏิบัติตามกฎจราจร
  • การขาดประสบการณ์ ซึ่งอาจไม่คุ้นเคยกับยานพาหนะ อีกทั้งการไม่คุ้นเคยกับสภาพทาง และสภาพดินฟ้าอากาศ 
  • ความบกพร่องทางร่างกาย ที่เกิดจากความเจ็บปวดทางร่างกาย เช่นโรคประจำตัว ได้แก่ โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ลมชัก หรือสภาวะที่มีความบกพร่องของอวัยวะต่างๆ เช่น สายตาเอียงมาก ตาบอดสี หูตึง หูหนวก หรือในสภาวะที่ร่างกายอ่อนล้า ที่อาจส่งผลให้เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการจราจรได้
  • การใช้แอลกอฮอล์ การดื่มสุราและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในขณะขับรถบิ๊กไบค์ เป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุจากการจราจร

จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลก (WHO) ชี้ให้เห็นว่าทุกปีมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร จำนวน 1.18 ล้านคน หรือเฉลี่ยวันละ 3,242 คน และประเมินว่าทั่วโลกมีเหยื่อที่เกิดจากที่กลายเป็นผู้พิการเพิ่มขึ้นอีกปีละ 20-50 ล้านคน